Project Arduino 17

การสั่งงานด้วยเสียงพูด Arduino + โมดูลควบคุมด้วยเสียง


เราจะเรียนรู้วิธีการพูดคุยกับ Arduino โดยเราจะใช้โมดูลควบคุมด้วยเสียง Speech Recognition Module ซึ่งสามารถใช้โมดูลนี้เพื่อควบคุมไฟ LED และ หุ่นยนต์ โดยการทดสอบการใช้งานนี้ เราจะใช้ LED ในการแสดงผล

และ เราจะใช้ซอฟต์แวร์ Access Port เพื่อบันทึกคำสั่งเสียงของเรา เพื่อส่งคำสั่ง HEX จาก Windows ผ่านทาง USB ไปยังโมดูล Speech Recognition Module



Wiki: http://www.geeetech.com/wiki/index.php/Arduino_Voice_Recognition_Module

----------

อุปกรณ์ที่ใช้:
1. โมดูลควบคุมด้วยเสียง Speech Recognition Module
2. CP2102 USB 2.0 to UART TTL 5PIN Connector Module
2. หลอดไฟ LED 5mm
3. Breadboard 8.5CM x 5.5CM
4. Jumper (M2M) 20cm Male to Male
5. Jumper (F2M) 20cm Female to Male

ซอฟต์แวร์: AccessPort - RS232 Monitor /  RS232 Terminal

สำหรับผู้ใช้ Windows

http://www.sudt.com/en/ap/

----------


โมดูลควบคุมด้วยเสียง Speech Recognition Module

Speech Recognition Module สามารถจดจำคำสั่งเสียงได้มากถึง 15 เสียงและเหมาะสำหรับคำสั่งส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมด้วยเสียง



ได้รับการกำหนด คำสั่ง ผ่าน พอร์ตอนุกรม ด้วยโมดูลนี้เราสามารถควบคุมหุ่นยนต์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ ได้ด้วยเสียง

สามารถจัดเก็บคำสั่งเสียงได้ 15 เสียง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มกลุ่มละ 5 เสียง


คุณสมบัติ:

แรงดันไฟฟ้า: 4.5-5.5V
กระแสน้อยกว่า 40mA
Digital Interface: 5V TTL level UART interface



USB To TTL / COM Converter Module



คุณสมบัติ:

Built-in USB to RS232 Transfer chip
Designed to be used for USB to TTL electronic projects
TTL interface output, easy to connect to your MCU
Status LED.
Dual 3.3V and 5V Power output, work with 3.3v and 5v target devicev

----------


การเชื่อมต่อ ระหว่าง Speech Module กับ USB Module


TXD <-> RXD

RXD <-> TXD

GND <-> GND

VCC <-> +5V



จากนั้นต่อสายไมโครโฟนของโมดูลเสียงและเชื่อมต่อโมดูล USB เข้ากับคอมพิวเตอร์


----------

ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์สำหรับบันทึกคำสั่งเสียง

เราจะใช้ซอฟต์แวร์ Access Port เพื่อส่งคำสั่ง HEX จาก Windows ผ่าน USB ไปยังโมดูลเสียง

ลิงก์ดาวน์โหลดของซอฟต์แวร์

http://www.sudt.com/en/ap/

----------

การใช้ซอฟต์แวร์ Access Port สำหรับบันทึกเสียง


อันดับแรกเราต้องหาพอร์ตที่ต่อโมดูล USB ( ในตัวอย่างเป็น COM12 ) ใน คอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่องจะแสดงไม่เหมือนกันให้ตรวจสอบเพื่อนำไปใช้ในขั้นตอนต่อไป


เปิด ซอฟต์แวร์ Access Port


จากนั้นเราจะไปที่การตั้งค่าโปรแกรม  Tools -> Configuration

และเลือก Port : เป็น COM12 (พอร์ตที่ต่อโมดูล USB) และ Baud Rate: เป็น 9600



เลือกประเภทคำสั่งที่จะส่ง โดยให้เลือก เลือก Hex Format -> OK


เขียนคำสั่ง AA 36 แล้ว กดปุ่ม Send


 เพื่อเริ่มต้น "โหมดทั่วไป" 

เปลี่ยนรูปแบบการแสดงผล Operation -> Display Format


รูปแบบการแสดงผลที่ต้องการ


จากนั้น กดปุ่ม Clear


โดยเริ่มต้นโหมดการบันทึกด้วยการส่งคำสั่ง AA 11 -> Send


เมื่อเราเห็นข้อความ START เราจะเริ่มพูดคำสั่งที่เราต้องการ 3 ครั้ง



START 
คำสั่งเสียง1 ครั้งที่ 1

AGAIN

คำสั่งเสียง1 ครั้งที่ 2

START

คำสั่งเสียง1 ครั้งที่ 3

Finish one (เมื่อคำสั่งถูกต้องจะขึ้น  Finish one คำสั่งเสียง1 จะถูกบันทึกไว้)

หากคำสั่งที่เรากล่าวว่าไม่ตรงกันซอฟต์แวร์จะแจ้ง Different เตือนเรา!

START

คำสั่งเสียง2 ครั้งที่ 1

AGAIN

คำสั่งเสียง2 ครั้งที่ 2

START

คำสั่งเสียง2 ครั้งที่ 3

Finish one (เมื่อคำสั่งถูกต้องจะขึ้น  Finish one คำสั่งเสียง2 จะถูกบันทึกไว้)

ทำเพิ่มจนครบ 5 คำสั่งเสียง (สามารถเลือก 5 คำสั่งเสียงที่ต้องการ)

ในตัวอย่างจะเป็น 1.หน้า 2.หลัง 3.ซ้าย 4.ขวา 5.หยุด

......

เมื่อทำครบ 5 คำสั่งเสียง จะแสดง Group1 Finish!

ขณะนี้เรามี 5 คำสั่งเสียงสำหรับ Group1 เราต้องการนำเข้าไปในโมดูล 

ให้ทำการบันทึกโดย  กดปุ่ม Clear แล้วเขียนคำสั่ง AA 21 -> Send  มิฉะนั้นคำสั่งจะไม่ถูกเก็บไว้ในโมดูล


*** ถ้าต้องการลบข้อมูล ที่บันทึกแล้วใน Group1 ให้ใชคำสั่ง AA 01 -> Send ***


เมื่อบันทึกสำเร็จ จะชึ้น Group1 Imported! 

แสดงว่า Speech Recognition Module พร้อมใช้งานในขั้นตอนต่อไป



----------


การเชื่อมต่อ ระหว่าง Speech Module กับ Arduino UNO

GND <-> GND

VCC <-> + 5V

TX <->  RX

RX <->  TX

----------

การเชื่อมต่อของ LED



ต่อ LED ตัวที่1 ขาที่ยาวกว่า เข้าที่ขา D5 ขาที่สั้น เข้าที่ ไฟ- Breadboard

ต่อ LED ตัวที่2 ขาที่ยาวกว่า เข้าที่ขา D6 ขาที่สั้น เข้าที่ ไฟ- Breadboard
ต่อ LED ตัวที่3 ขาที่ยาวกว่า เข้าที่ขา D7 ขาที่สั้น เข้าที่ ไฟ- Breadboard
ต่อ LED ตัวที่4 ขาที่ยาวกว่า เข้าที่ขา D8 ขาที่สั้น เข้าที่ ไฟ- Breadboard
ต่อ LED ตัวที่5 ขาที่ยาวกว่า เข้าที่ขา D9 ขาที่สั้น เข้าที่ ไฟ- Breadboard



----------


การอัปโหลดซอร์สโค้ด

อย่าลืมถอดสาย TX และ RX ออกจาก Speech Module เมื่อต้องการจะอัพโหลดซอร์สโค้ด หลังจากอัปโหลดโค้ดแล้วให้เชื่อมต่อ TX และ RX เข้ากับบอร์ดดังเดิม


byte com = 0;


void setup() {

  pinMode(5, OUTPUT);
  pinMode(6, OUTPUT);
  pinMode(7, OUTPUT);
  pinMode(8, OUTPUT);
  pinMode(9, OUTPUT);

  Serial.begin(9600);

  Serial.write(0xAA);

  Serial.write(0x37);

  delay(1000);

  Serial.write(0xAA);

  Serial.write(0x21);


}

void loop() {


  while (Serial.available()) {

    com = Serial.read();

    switch (com) {

      case 0x11:   //command 1 is for LED 1

        digitalWrite(5, HIGH);

        break;

      case 0x12:  //command 2 is for LED 2

        digitalWrite(6, HIGH);

        break;

      case 0x13:  //command 3 is for LED 3

        digitalWrite(7, HIGH);

        break;

      case 0x14:  //command 4 is for LED 4

        digitalWrite(8, HIGH);

        break;

      case 0x15:  //command 5 is for LED 5

        digitalWrite(9, HIGH);

        break;

    }
  }
}

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Flowchart

งาน ปฏิบัติ 17